ไม้ประดับดูดสารพิษ


ไม้ประดับดูดสารพิษ
อากาศที่เราหายใจเข้าไปทุกวันนี้ประกอบด้วยละอองฝุ่นและสารเคมีมากมาย ซึ่งเราได้หายใจเข้าไปทุกวัน
ลิ้นมังกร
ความพยายามที่จะเอาชนะละอองฝุ่นและสารพิษในอากาศที่เรามองไม่เห็นนั้น คงไม่มีวิธีไหนที่จะดีไปกว่าการใช้วิธีธรรมชาติมาจัดการกับอากาศพิษเหล่านี้ เรารู้มานานแล้วว่าต้นไม้นั้นเปรียบเสมือนปอดของมนุษย์ที่คอยผลิตอ๊อกซิเจนออกมาและในขนะเดียวกันก็ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องกรองอากาศไปในตัวด้วย

วิธีที่ดีที่สุดเพื่อทำให้คุณภาพของอากาศ ในที่อยู่อาศัยและที่ทำงาน เป็นอากาศที่บริสุทธิ์และสะอาด คือการปลูกต้นไม้ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยต้นไม้ที่มีคุณสมบัติ ต้องการแสงน้อย และเจริญเติบโตได้ดีแม้ในอยู่ในอาคารที่อยู่อาศัย

ดร.บี ซี วูฟเวอร์ตัน (Dr. B.C. Wolverton) นักวิจัยแห่งสถาบันวิจัยอวกาศนาซ่า สหรัฐอเมริกา ได้ทำการวิจัยมาเป็นเวลากว่า 25 ปี จนค้นพบความสามารถ และประสิทธิภาพของไม้ประดับในการกำจัดสารพิษหรือมลภาวะในอากาศได้อย่างดีเยี่ยม และผลการวิจัยนี้ก็ได้เผยแพร่ออกไปทั่วโลก

ดร.บี ซี วูฟเวอร์ตัน ได้เขียนหนังสือ Eco-Friendly House Plant หรือ ไม้ประดับที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยแนะนำไม้ดอกไม้ประดับ 50 ชนิด ที่มีความสามารถในการดูดไอพิษจากอากาศ ไม่ว่าจะเป็นฟอร์มาดิไฮด์ แอมโมเนีย ไซลีน ทูลีน รวมทั้งไอเสียที่เกิดจากมนุษย์ ซึ่งไม้ประดับส่วนใหญ่ที่

ดร.วูฟเวอร์ตันแนะนำนั้นเป็นไม้ประดับที่เราคุ้นหน้าคุ้นตาเป็นอย่างดี เป็นไม้ประดับที่สวยงาม ดูแลรักษาง่าย เป็นไม้ประดับที่นิยมปลูกกันโดยทั่วไป เพียงแต่เราไม่เคยได้ล่วงรู้ถึงคุณสมบัติในการดูดสารพิษของไม้ประดับเหล่านี้มาก่อน

ต้นไม้มีกระบวนการทำงาน 2 วิธี คือ. 

1. ต้นไม้เหล่านั้นดูดสารพิษเหล่านั้นเอาไปเก็บไว้ที่ใบแล้วส่งสารพิษเหล่านั้นไปยังราก แล้วพวกมันก็จะเปลี่ยนสารพิษให้กลายเป็นอาหารของมัน

ไม้ประดับ
2. ต้นไม้มีคายน้ำออกมาเป็นเสมือนปั้มซึ่งปล่อยไอน้ำออกมาเพื่อจับตัวกับสิ่งสกปรกต่างๆ ในอากาศ และเมื่อสารพิษเหล่านั้นจับตัวกันก็จะตกลงมายังพื้นรอบๆ ราก ของมันและเมื่อถึงเวลาที่มันซึมผ่านมายังดิน มันก็จะดูเอาสารพิษเหล่านั้นไปเป็นอาหาร

ไม้ประดับดูดสารพิษ

บอสตันเฟิน | เบญจมาศ | เยอบิร่า | สิบสองปันนา | วาสนาราชินี | ปาล์มไผ่ | เฟิร์นดาบออสเตรเลีย | ยางอินเดีย | ตีนนตุ๊กแกฝรั่ง | ไทรย้อยใบแหลม
เดหลี | หมากเหลือง | วาสนาอธิษฐาน | จั๋ง | หนวดปลาหมึก | เข็มริมแดง | ประกายเงิน | เศรษฐีไซ่ง่อน | กล้วยไม้หวาย | สาวน้อยประแป้ง
ทิวลิป | ไทรใบเล็ก | เสน่ห์จันทน์แดง | ปาล์มใบไผ่ | กุหลาบพันปี | เขียวหมื่นปี | เศรษฐีเรือนใน | กล้วยแคระ | มรกตแดง | สโนว์ดรอป
| ฟิโลหูช้าง | พลูด่าง | สนฉัตร | บิโกเนียใบมัน | แววมยุรา | ไอวี | มังกรคาบแก้ว | ฟิโลเซลลอม | เงินไหลมา | ฟิโลใบหัวใจ
หน้าวัวเปลวเทียน | คล้าหางนกยูง | คริสต์มาส | ไซคลาเมน | กล้วยไม้ฟาแลนอปซีส | สับปะรดสี | โกสน | ลิ้นมังกร | ว่านหางจระเข้ | กุหลาบหิน
ไม้ประดับ

เรามาร่วมกันปลูกต้นไม้เพื่อโลกของเรากันนะค่ะ...





Episcia พรมญี่ปุ่น คลีโอพัตรา

Episcia พรมญี่ปุ่น คลีโอพัตรา
พรมญี่ปุ่นหรือพรมกำมะหยี่ ไม้ดอกกระจุ๋มกระจิ๋ม สีสด ใบดูนุ่มเหมือนกำมะยีเลยมีคนเรียกชื่อว่า พรมกำมะยี่อีกชื่อหนึ่ง
พรมญี่ปุ่น
ลักษณะของใบดูนุ่มคล้ายกำมะยี่ และด้วยความที่มีอยู่หลายสายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์ก็เลยให้สีใบและสีดอกแตกต่างกัน เช่น สีเงินวาว สีเขียวสด สีชมพู สีน้ำตาลเข้ม ถ้านำพรมญี่ปุ่นที่มีสีใบแตกต่างกันมาปลูกรวมๆ กันแล้วไล่โทนสีก็จะได้ กระถางต้นพรมญี่ปุ่นที่ไล่เฉดสีใบ สวยแปลกตาย
คลีโอพัตรา
เหมาะกับมุม “แสงน้อย” เพราะเป็นต้นไม้ที่ชอบแดดรำไรๆ   จะใส่กระถางปากกว้างตั้งหรือถ้าอยากได้ความแปลกตาขึ้นไปอีกก็ปลูกในกระถางแขวน ปล่อยให้ลำต้นยาวย้อยลงมาเป็นสายก็ได้สวนแนวตั้งสวยๆ
Episcia

วันนี้เรามารู้จักกับพรมญี่ปุ่น เธอชื่อคลีโอพัตรา 

สุดยอดของพรม ใบของเธอสวยมาก พรมญี่ปุ่นคลีโอดอกออกสีแดง เป็นพรมที่ทุกคนใฝ่ฝันอยากหามาปลูกที่สุดเลย

แต่งสวน
การแต่งสวน..คนส่วนใหญ่เข้าใจกันว่า พรมญี่ปุ่นหรือพรมกำมะหยี่ปลูกยากและเน่าง่าย เลยไม่ค่อยได้ใช้กันมากเท่าไร เลยเป็นเรื่องน่าเสียดายความงามในความหลากหลาย ส่วนใหญ่ก็เลยมักจะปลูกกันในกระถาง แต่วันนี้จะนำเทคนิคง่ายมาลองให้ไปปลูกดูกันเล่นๆ...แต่ใครจะทำจริงจังก็ไม่ว่านะ อิอิ
คลีโอพัตรา
นิสัยของเจ้าพรมญี่ปุ่น ชอบชื้นแต่ไม่ชอบแฉะ น้ำขังเพราะรากของมันจะเน่าได้ วัสดุปลูกที่ใช้ก็ควรเป็นดินผสมพวกกาบมะพร้าวสับหยาบเพื่อให้มีช่องว่างให้อากาศถ่ายเทสะดวก ถ้าจะปลูกลงดิน ต้องระวังเรื่องน้ำเป็นพิเศษในช่วงหน้าฝน เพราะถ้าฝนตกมากแล้วน้ำท่วมขัง รากจะเน่าตายได้ หรือถ้าปลูกร่วมหรือปลูกอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ ก็ควรเลือกต้นไม้ที่นิสัยคล้ายๆ กันเพื่อให้ง่ายในการดูแลได้ทั่วถึง เพาะขยายพันธุ์ก็แสนง่าย แค่ตัดกิ่งมาปักชำในถุงเพาะ   เรื่องอื่นๆ ก็ไม่มีอะไรน่าห่วงเป็นพิเศษเพราะเป็นต้นไม้ในกลุ่ม “กินง่าย อยู่ง่าย”
พรมญี่ปุ่น
Episcia
การแต่งสวน
พรมญี่ปุ่น
Episcia

พรมญี่ปุ่น คลีโอพัตรา นำมาจัดแต่งสวน เลี้ยงไว้ในหินฝองน้ำก็สวยไปอีกแบบ และโตดีด้วยนะค่ะ